Advertisement

ปลาทองปอมปอน (Pompon)


ปลาทองปอมปอน

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ปลาทองปอมปอนได้ ปลาทองปอมปอนมีลักษณะแตกต่างจากพันธุ์อื่นๆ โดยสิ้นเชิง นั่นคือปลาทองชนิดนี้แทนที่จะมีวุ้นขึ้นดกหนาเหมือนปลาหัวสิงห์สายพันธุ์อื่นๆ แต่มันกลับมีเยื่อจมูกยื่นยาวออกมา ทำให้แลดูแปลกตาออกไป ส่วนวุ้นบนหัวของปลาทองปอมปอนโดยมากจะมีลักษณะบางจนแทบมองไม่เห็นและโดยทั่วไปปลาทองสายพันธุ์นี้จะมีช่วงลำตัวยาว และเพียวกว่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่นๆ

ปลาทองปอมปอนมีลักษณะลำตัวสั้น มองจากด้านบนจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม คล้ายปลาของหัวสิงห์ แต่แตกต่างกันตรงส่วนหัวโดยผนังกั้นจมูกของปลาทองปอมปอนจะขยายเจริญเติบโตออกมาข้างนอกปเป็นพู่สองข้าง ทำให้แลดูแปลกตาออกไป มีช่วงลำตัวยาวและเพรียวกว่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่นๆ นั่นเอง

ปลาทองปอมปอนที่นิยมเลี้ยงมากที่สุด คือ พันธุ์สีแดงไม่มีครีบหลัง สำหรับหลักเกณฑ์ความสวยงาม คือ พิจารณาจากความสวยงามของเยื่อจมูกของปลาเป็นหลัก ส่วนลักษณะอื่นๆ ก็ยึดหลักเกณฑ์เดียวกันกับการตัดสินปลาทองหัวสิงห์ทั่วไป ปลาทองสายพันธุ์นี้ในบ้านเราไม่ได้รับความนิยมเท่าไรนัก สาเหตุอาจะเป็นเพราะทรวดทรงที่ไม่สวยงามเท่าปลาทองหัวสิงห์มาก และส่วนมากลูกปลาที่เพาะได้ก็จะพิการเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงทำให้ปลาชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากนักเพาะพันธุ์ปลาทองมืออาชีพเช่นกัน เพราะเพาะแล้วไม่คุ้มนั่นเอง


ปลาทองตากลับ (Celestial goldfish)


ปลาทองตากลับ

ปลาทองสายพันธุ์ตากลับ หรือปลาทองเซเลสซัส เป็นปลาทองที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ชาวจีนเรียกกันว่า “โซเตงงัง” (Chotengan) ซึ่งมีความหมายว่าปลาตาดูฟ้าดูดาว หรือตามุ่งสวรรค์ สาเหตุเนื่องจากปลาทองชนิดนี้มีตาหงายกลับขึ้นข้างบน ผิดจากปลาทองชนิดอื่นๆ นั่นเอง เคยมีนิทานจีนอยู่เรื่องหนึ่งได้เล่าต่อกันมาว่าปลาตัวนี้เกิดขึ้นในสมัยราชาภิเษกฮ่องเต้จีนพระองค์หนึ่ง โดยองค์ฮ่องเต้ได้ทอดพระเนตรลงในบ่อปลาก็พบว่าปลาทองตัวนี้ได้พลิกตาขึ้นมาจ้องมองพระองค์ คล้ายกับต้องการแสดงการคาระวะสรรเสริญพระองค์ Continue reading ปลาทองตากลับ (Celestial goldfish)


ปลาทองแต่ละสายพันธุ์


ปลาทองแต่ละสายพันธุ์

ในปัจจุบันมีสายพันธุ์มากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกัน โดยการตั้งชื่อสายพันธุ์ปลาทองนั้นจะตั้งชื่อตามลักษณะลำตัว สีสัน และครีบของปลาทอง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้…
Continue reading ปลาทองแต่ละสายพันธุ์


โลกของปลาทอง ตอนที่ 3


การเพาะเลี้ยงปลาทองในประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทยเชื่อว่าปลาทองเข้ามาในสมัยอยุธยาตอนกลาง เพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราวๆ ปี ค.ศ. 1370-1489 การเลี้ยงปลาทองในฐานปลาสวยงามในยุคปัจจุบันเริ่มขึ้นหลังปี ค.ศ. 1960 ซึ่งความนิยมจะเริ่มขึ้นจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร ก่อนจะขยายตัวไปตามจังหวัดต่างๆ จนปัจจุบันมีฟาร์มเลี้ยงปลาทองมากมาย มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งเกรดสูงที่มีราคาแพงและเกรดธรรมดาทั่วไป
Continue reading โลกของปลาทอง ตอนที่ 3


ปลาทองหัวสิงห์จำปา


ปลาทองหัวสิงห์จำปา
ปลาทองหัวสิงห์จำปามีลำตัวเป็นสีเหลืองทองคล้ายสีของดอกจำปา ซึ่งปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์นี้เข้าใจว่าเป็นปลาที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างปลาทองหัวสิงห์ที่มีสีดำ กับปลาทองหัวสิงห์ที่มีสีทอง ซึ่งลูกปลาที่เพาะออกมาได้นั้นโดยมากจะมีสีออกสีเหลืองทอง แต่ก็มีบางตัวที่มีสีเป็นกระดำกระด่าง Continue reading ปลาทองหัวสิงห์จำปา