ในปัจจุบันมีสายพันธุ์มากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกัน โดยการตั้งชื่อสายพันธุ์ปลาทองนั้นจะตั้งชื่อตามลักษณะลำตัว สีสัน และครีบของปลาทอง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้…
กลุ่มที่ 1 พวกที่มีลำตัวแบนยาว ปลาในกลุ่มนี้มีลำตัวแบนและมีครีบหางเดี่ยว ปลาในกลุ่มนี้มักจะว่ายน้ำได้ปราดเปรียวและรวดเร็ว เลี้ยงง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีความแข็งแรงมากที่สุดในบรรดากลุ่มปลาทองทั้งหมด เจริญเติบโตได้เร็ว เหมาะสมที่จะเลี้ยงในบ่อ ปลาทองที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ปลาทองโคเมท (Comet Goldfish) , ปลาทองชูบุงกิง (Shubunkin)
กลุ่มที่ 2 พวกที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่ ปลาในกลุ่มนี้มีจำนวนมาก และแบ่งเป็นหลายสายพันธุ์ มีลักษณะครีบ หัวและนัยต์ตาที่แตกต่างกันหลากหลาย ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม โดยพิจารณาจากลักษณะครีบ คือกลุ่มที่มีครีบหลัง และกลุ่มที่ไม่มีครีบหลัง กลุ่มที่มีครีบหลัง เช่น ปลาทองริ้วกิ้น (Ryukin) ,ปลาทองออแรนดา (Oranda), ปลาทองเกล็ดแก้ว (Pearl Sacles Goldfish) ,ปลาทองพันธุ์เล่ห์ (Black telescope – eyes goldfish หรือ Black moor) ,ปลาทองแพนด้า (Panda) ,ปลาทองหัวสิงห์ตันโจ กลุ่มที่ไม่มีครีบหลัง เช่น ปลาทองหัวสิงห์จำปา , ปลาทองปอมปอน (Pompon), ปลาทองหัวสิงห์จีน (Chinese lion head), ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น, ปลาทองหัวสิงห์ 5 สี ,ปลาทองหัวสิงห์ลูกผสม (Hybrid lionhead , Ranchu x Chinese lionhead) ,ปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์ ,ปลาทองโตซากิ้น (Tosakin) ,ปลาทองรันชู ,ปลาทองตากลับ (Celestial goldfish) ,ปลาทองตาลูกโป่ง (Bubble eye goldfish)