Advertisement

โลกของปลาทอง ตอนที่ 2

ปลาทองจัดว่าเป็นที่นิยมเลี้ยงในหมู่นักเลี้ยงมาตลอดมา ปลาทองพันธุ์สามัญ (Common fish) เป็นปลาต้นสายพันธุ์ ลำตัวค่อนข้างยาวและแบนด้านข้าง หัวสั้นกว้างและไม่มีเกล็ด เป็นปลาที่อดทน กินง่ายและมีลูกดก มีสีสันคล้ายกับปลาไนมาก สันนิฐานกันว่ามีผู้นำปลาเงินปลาทองเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง โดยนำเข้ามาจากประเทศจีน เนื่องจากมีการค้าติดต่อกันในช่วงนั้น

[…]

ปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์

ปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์

ปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์ มีลักษณะเด่นของปลาทองสายพันธุ์นี้ จะมีวุ้นขึ้นครอบคลุมบริเวณส่วนหัวทั้งหมด ซึ่งรวมถึงส่วนเหงือกของปลาด้วย หรือที่นิยมเรียกกันว่า “แก้มปลา” หรือ เขี้ยวปลา นั่นเอง โดยวุ้นที่บริเวณเหงือกของปลาจะมีขนาดใหญ่มาก จนทำให้หัวของปลาแลดูไม่ค่อยกลม แต่จะดูคล้ายหน้าของยักษ์มีเขี้ยว ซึ่งปลาทองหัวสิงห์พันธุ์นี้โดยมากจะมีแผ่นหลังไม่สวยงามเหมือนพันธุ์อื่นๆ โดยมีวิธีการสังเกตปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์ที่อยู่ในเกณฑ์สวยดังนี้

ปลาทองปอมปอน (Pompon)

ปลาทองปอมปอน

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ปลาทองปอมปอนได้ ปลาทองปอมปอนมีลักษณะแตกต่างจากพันธุ์อื่นๆ โดยสิ้นเชิง นั่นคือปลาทองชนิดนี้แทนที่จะมีวุ้นขึ้นดกหนาเหมือนปลาหัวสิงห์สายพันธุ์อื่นๆ แต่มันกลับมีเยื่อจมูกยื่นยาวออกมา ทำให้แลดูแปลกตาออกไป ส่วนวุ้นบนหัวของปลาทองปอมปอนโดยมากจะมีลักษณะบางจนแทบมองไม่เห็นและโดยทั่วไปปลาทองสายพันธุ์นี้จะมีช่วงลำตัวยาว และเพียวกว่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่นๆ

ปลาทองปอมปอนมีลักษณะลำตัวสั้น มองจากด้านบนจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม คล้ายปลาของหัวสิงห์ แต่แตกต่างกันตรงส่วนหัวโดยผนังกั้นจมูกของปลาทองปอมปอนจะขยายเจริญเติบโตออกมาข้างนอกปเป็นพู่สองข้าง ทำให้แลดูแปลกตาออกไป มีช่วงลำตัวยาวและเพรียวกว่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่นๆ นั่นเอง

ปลาทองปอมปอนที่นิยมเลี้ยงมากที่สุด คือ พันธุ์สีแดงไม่มีครีบหลัง สำหรับหลักเกณฑ์ความสวยงาม คือ พิจารณาจากความสวยงามของเยื่อจมูกของปลาเป็นหลัก ส่วนลักษณะอื่นๆ ก็ยึดหลักเกณฑ์เดียวกันกับการตัดสินปลาทองหัวสิงห์ทั่วไป ปลาทองสายพันธุ์นี้ในบ้านเราไม่ได้รับความนิยมเท่าไรนัก สาเหตุอาจะเป็นเพราะทรวดทรงที่ไม่สวยงามเท่าปลาทองหัวสิงห์มาก และส่วนมากลูกปลาที่เพาะได้ก็จะพิการเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงทำให้ปลาชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากนักเพาะพันธุ์ปลาทองมืออาชีพเช่นกัน เพราะเพาะแล้วไม่คุ้มนั่นเอง

ปลาทองแต่ละสายพันธุ์

ปลาทองแต่ละสายพันธุ์

ในปัจจุบันมีสายพันธุ์มากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกัน โดยการตั้งชื่อสายพันธุ์ปลาทองนั้นจะตั้งชื่อตามลักษณะลำตัว สีสัน และครีบของปลาทอง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้…

[…]

โลกของปลาทอง ตอนที่ 3

การเพาะเลี้ยงปลาทองในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทยเชื่อว่าปลาทองเข้ามาในสมัยอยุธยาตอนกลาง เพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราวๆ ปี ค.ศ. 1370-1489 การเลี้ยงปลาทองในฐานปลาสวยงามในยุคปัจจุบันเริ่มขึ้นหลังปี ค.ศ. 1960 ซึ่งความนิยมจะเริ่มขึ้นจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร ก่อนจะขยายตัวไปตามจังหวัดต่างๆ จนปัจจุบันมีฟาร์มเลี้ยงปลาทองมากมาย มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งเกรดสูงที่มีราคาแพงและเกรดธรรมดาทั่วไป

[…]