ครีบต่างๆ ของปลานอกจากจะมีส่วนที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของปลสแล้ว ยังมีหน้าที่พยุงและรักษาการทรงตัวของปลาในน้ำ เวลาปลาว่ายน้ำเร็วครีบต่างๆ จะหุบลงหรือยุบแนบตามตัวของปลา ทั้งนี้เพื่อให้ลู่ตามน้ำและมีความต้านทานน้อยลง ครีบหางจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนหางเสือของเรือ เมื่อต้องการจะหยุดครีบอกและครีบท่้องจะกางออกต้านน้ำ ครีบอื่นก็จะแผ่ออกทำหน้าที่ทรงตัวพร้อมกัน
ตามปกติแล้วครีบปลาทองจะมี 2 ชั้นประกอบกันแบบสนิท ครีบเดี่ยว ได้แก่ ครีบหลัง (Dorsal fin) ครีบหาง (Caudalfin) และครีบก้น (Anal fin) ปลาทองที่มีครีบเดี่ยวเช่น ปลาทองธรรมดา (Common goldfish) ปลาทองโคเมท (Comet) ปลาทองชูบุงกิง (Shubunkin) ซึ่งล้วนมีครีบสองชั้นเหมือนปลาทองป่าหรือปลาทองธรรมชาติที่เป็นต้นตระกูลของมัน ครีบหลังและครีบก้นที่แยกชั้นออกจากันเป็นครีบคู่ของปลาทองชนิดหางคู่ เช่นเดียวกับปลาทองที่ไม่มีครีบหลัง
ลักษณะ 3 ประการนี้ เมื่อรวมกับการกลายพันธุ์โดยลำตัวสั้นลงและป้อมขึ้นทำให้เกิดเป็นปลาทองทรงรูปไข่ (Eggfish) เป็นปลาทองพันธุ์ลำตัวป้อมสั้นหางคู่ที่เก่าแก่และเป็นต้นสายพันธ์ุของปลาทองหัวสิงห์ (Lionehead) ปลาทองปอมปอน (PomPon) ปลาทองตากลับ (Celestial) และปลาทองตาลูกโป่ง (Bubble)
ปลาทองชนิดนี้ลำตัวยาวแต่มีหางคู่และครีบหลังแยกเป็นครีบคู่ก็มี เช่น ปลาทองยิกิง (Jikin) หรือปลาทองหางนกยูง (Peacock Tail) ปลาทองวากิง (Wakin) เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีปลาทองลำตัวสั้นหางคู่ที่มีครีบยาว ซึ่งพัฒนามาจากพวกหางคู่ครีบสั้น ได้แก ปลาทองริวกิ้น (Ryukin/Veiltail) ปลาทองออแรนดา (Oranda) ปลาทองตาโปน (Globe/Telescope) และปลาทองพันธุ์เล่ห์หางแฉก (Broadtail moor)